เป็นอีกหนึ่งทางเลือก ที่หน้าสนใจ สำหรับชาวนา ในยุคที่ ฟ้าฝน ไม่เป็นใจ และเวลาที่เราทุกคนต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา ความแปรปรวนของดินฟ้า อากาศ รวมถึงเหตุการณ์น้ำท่วมในขณะนี้ แน่นอนเกษตรกรย่อมได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะไม่มีพื้นที่ในการเพาะปลูก เมื่อไม่มีที่เพาะปลูก สิ่งที่ตามมา คือรายได้ในการดำรงชีพก็ขาดหายไปด้วย สิ่งที่ทำได้คือการที่เกษตรต้องปรับตัว และหาวิธีการเพื่อให้สามารถเพาะปลูกได้ และการปลูกข้าวลอยน้ำ เป็นทางเลือกหนึ่ง ที่ทำให้เกษตรกรสามารถใช้ดำรงชีวิตอยู่กับน้ำ และสามารถทำการเกษตรและมีรายได้เลี้ยงชีพได้ แนวคิดในการปลูกข้าวลอยน้ำ เกิดขึ้นมาจาก “นายสุพรรณ เมธสาร” เกษตรกรแห่งบ้านสามชุก อ.สามชุก จ.สุพรรณบุรี
1. การปลูกข้าวลอยน้ำอินทรีย์ ทางเลือกใหม่ของการปลูกข้าวบนพื้นน้ำ
มหาอุทกภัยช่วงปลาย พ.ศ. 2554 นั้น ก่อให้เกิดความเสียหายเป็นอย่างมากต่อทั้งชีวิตมนุษย์ ทรัพย์สิน สิ่งก่อสร้าง และอื่น ๆ โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่ได้รับผลกระทบโดยตรง และเนื่องจากน้ำท่วมขังที่มีแนวโน้มว่าจะเกิดขึ้นเป็นเวลานาน จึงมีความจำเป็นที่เกษตรกรจะต้องตั้งรับและเตรียมปรับตัวให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต จึงขอเสนอทางเลือกสำหรับเกษตรกรในการปลูกข้าวบนพื้นน้ำแทนการปลูกลงดินโดยตรง
ปลูกข้าวลอยน้ำ แนวคิดปรับตัวของเกษตรกรในช่วงน้ำท่วม
ซึ่งเป็นวิธีการปลูกข้าวที่ทดลองแล้วว่าได้ผลจริง
ช่วยในการประหยัดต้นทุน ก่อให้เกิดรายได้ ผลผลิตข้าวที่ได้ปลอดสารเคมีตกค้าง นับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับเกษตรกรที่อยู่ใกล้แหล่งน้ำ หรือไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง และเป็นการปรับตัวให้เข้ากับภาวะน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นเป็นเวลานาน
1. ฝากล่องโฟมเก่า (กล่องโฟมใส่ผลไม้)
2. กระถางพลาสติกสำหรับปลูก
3. ดินเลนสำหรับปลูก
4. เมล็ดพันธุ์ข้าว
5. ลำไม้ไผ่สำหรับทำแพ
6. เชือกฟาง
วิธีการปลูกข้าวลอยน้ำอินทรีย์
1. นำเมล็ดข้าวไปเพาะในแปลงเพาะ เหมือนกับการเตรียมกล้าพันธุ์สำหรับดำนาทั่วไป
2. นำตาไม้ไผ่มาทำเป็นกรอบสี่เหลี่ยมเพื่อทำเป็นแพในพื้นที่ที่จะปลูกข้าวลอยน้ำ
3. นำฝากล่องผลไม้ (ฝากล่องโฟม) มาเจาะรูให้มีขนาดเท่ากับกระถางพลาสติก แต่ให้อุ้มตัวกระถางไว้ได้
4. นำกระถางปลูกใส่ดินเลนให้เต็ม
5. เมื่อกล้ามีอายุ 10 – 15 วัน จึงแยกกล้ามาปลูกในกระถางที่เตรียมไว้ประมาณ 4 – 5 กอต่อกระถาง
6. นำกระถางเพาะกล้าใส่ในฝากล่องโฟม แล้วจึงนำไปลอยน้ำ ในกรอบไม้ไผ่ที่เตรียมไว้
7. ใช้เชือกผูกกล่องโฟมกับแพไม้ไผ่ เพื่อป้องกันการพัดพาของน้ำ ไม่ให้ไหลไปทีอื่น
การดูแลและการใส่ปุ๋ย
ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพบำรุงช่วงที่ข้าวมีอายุ 30 และ 50 วัน หลังการปลูก โดยใส่ปุ๋ยอินทรีย์อัตรา 1 กำมือ/กระถาง/ครั้ง หากมีแมลงศัตรูพืช ก็ใช้น้ำหมักสมุนไพรฉีดพ่น วิธีนี้เกษตรกรไม่ต้องเสียเวลาดูแลเรื่องน้ำเลย เพราะข้าวจะได้รับน้ำตลอดเวลาในช่วงระยะเวลาการปลูก
ประโยชน์ของผลผลิตที่ได้
วิธีการปลูกข้าวลอยน้ำอินทรีย์ ทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนเรื่องการเตรียมดิน น้ำมันเชื้อเพลิง และตัดปัญหาการดูแลเรื่องน้ำ การทำแพปลุกข้าวในพื้นที่ 1 ไร่ ผลผลิตที่ได้รับ เฉลี่ย 70 ถัง/ไร่ ซึ่งวิธีนี้จะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมจากการเผาและลดการใช้สารเคมีต่าง ๆ ทำให้ลดต้นทุนได้มาก อีกทั้งวัสดุอุปกรณ์ยังสามารถนำมาใช้ในครั้งต่อไปได้
2. กรณีศึกษาการปลูกข้าวลอยน้ำ
นายสุพรรณ เมธสาร เกษตรกรได้ทำการเกษตร ปลูกข้าว ปลูกผัก ดำรงชีวิตได้ในภาวะน้ำท่วม โดยได้สังเกตเห็นผักตบชวาลอยเต็มแม่น้ำ แล้วช่วงนั้นก็มีข่าวว่ามีเรือแล่นไปติด กอผักตบอยู่เป็นวันไปไหนไม่ได้ จึงเกิดความคิดว่า ผักตบมันก็เป็นพืชมันก็ต้องเอามาทำปุ๋ยได้ แล้วพอดีที่บ้านก็มีปลูกไผ่ไว้ ก็เลยเอามาต่อทำแพ แล้วก็ลองปลูกข้าวในน้ำ หลังจากนั้น จึงได้เริ่มทดลองปลูกข้าวในน้ำ ซึ่งปรากฏว่าได้ผลผลิตจริงประมาณ 20-25 รวงต่อต้น อีกทั้งยังประหยัดต้นทุน เพราะเกษตรกรสามารถลดต้นทุนเรื่องการเตรียมดิน น้ำมันเชื้อเพลิง ปุ๋ย ยากำจัดแมลง ตัดปัญหาการดูแลเรื่องน้ำ จากการคำนวณพบว่า หากทำแพปลูกข้าวในพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ผลผลิต เฉลี่ย 70 ถังต่อไร่ ซึ่งวิธีนี้จะไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม จากการเผาตอซังข้าวและลดการใช้สารเคมีต่าง ๆ ส่วนวัสดุอุปกรณ์ยังสามารถนำมาใช้ครั้งต่อไปได้
เกษตรกรพะเยาทดลองปลูกข้าวลอยน้ำ ลดต้นทุน-ไม่ง้อดิน-ต้นข้าวงาม
ข้อดีของการปลูกข้าวลอยน้ำ แบบนี้ไม่ต้องใส่ปุ๋ยเพราะในแม่น้ำมีอาหารอยู่แล้ว น้ำไม่ต้องรดก็เราปลูกในน้ำ ส่วนเพลี้ย แมลง หอยเชอรี่ มีวิธีกำจัด โดยค่อย ๆ กดแพข้าวลอยน้ำลงในน้ำทีละนิดจนข้าวทั้งต้นจมลงใต้น้ำไว้ประมาณ 10 – 15 นาทีเท่านั้น พวกแมลง หนอน ก็จะลอยน้ำ ให้ปลาแถวนี้ก็จะมากิน
เป็นอีกแนวคิดนึง สำหรับการปรับตัว ตามสภาพ ดินฟ้าอากาศ มาฝากครับ สำหรับการปลูกข้าว ในน้ำ